วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข้อดีของการบันทึกข้อมูลลงบล็อก

ข้อดีของการเขียนบันทึกลงบล็อก

  • ได้ถ่ายทอดประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญบางอย่างให้คนอื่นได้รู้
    ยิ่งเขียน (ยิ่งให้) ก็ยิ่งได้ (สมองยิ่งคิดยิ่งใช้ยิ่งดี)
  • บันทึกบางบันทึกต้องค้นคว้าตรวจสอบก่อนตีพิมพ์ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นอีก (เช่น บันทึกเรื่อง "วันมาฆบูชา")
  • ได้มีพื้นทีเสมือน B2B แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
  • ได้เพื่อนใหม่ แถมไปไหนก็มีคนรู้จัก (บางคน)
  • เป็นบันทึกช่วยจำให้เราได้ (บางครั้งนึกไม่ออกว่าวันนั้นไปทำอะไรมาก็เข้าไปค้นหาบันทึกได้)
  • บันทึกนี้เมื่อเขียนมากๆ เข้า ก็สามารถรวบรวมเป็นขุมความรู้ (Knowledge Assets) ได้
  • สามารถเก็บเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมขององค์กรได้
    เป็นการใช้เวลาที่มีค่า ให้มีประโยชน์ต่อผู้อื่นอีกด้วย
  • ได้ความรู้สึกดีๆ เมื่อมีคนมาอ่านบันทึกของเรา และยิ่งดีมากถ้ามีคนมาเขียนข้อคิดเห็น
  • การหา "หัวข้อเรื่อง" มาเขียนได้ทุกวัน ทำให้เราเป็นคนช่างสังเกต และเป็นนักคิด นักเขียน
  • การใช้ภาษาดีขึ้น (ภาษาไทยก็ได้ ภาษาอังกฤษก็ดี), คำที่เขียนผิดก็จะลดลง (ใช้บ่อย)
  • ฝึกการอธิบายให้คนอื่นได้เข้าใจได้ (ถ้ามีคนอ่านมากแสดงว่าเขาเข้าใจที่เราพยายามสื่อ)
  • ฝึก Storytelling การเล่าเรื่อง โดยเฉพาะ Success story เพื่อเค้นหา Tacit knowledge ของตัวเอง (คนอื่นอาจจะช่วยค้นหาให้)
  • ฝึกฝนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
  • เป็นธนาคารเก็บรูปภาพให้เรา

DATA WEREHOUSE

คลังข้อมูล

คลังข้อมูล (data warehouse) คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา ซึ่งอาจมี schema แตกต่างกัน มาไว้รวม ณ ที่เดียวกัน (และใช้ schema เดียวกัน)
เนื้อหา[ซ่อน]
1 คลังข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลอย่างไร?
2 ประเด็นที่ต้องพิจารณา
3 การวิเคราะห์ข้อมูลในคลังข้อมูล
3.1 Online Analytical Processing
3.2 การทำเหมืองข้อมูล
4 ลักษณะเด่นของคลังข้อมูล


คลังข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลอย่างไร?
โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน
โดยสรุปคือ
คลังข้อมูล ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน)
ฐานข้อมูล ใช้เพื่อทำการประมวลผล (เฉพาะข้อมูลปัจจุบัน)
ถ้าองค์กรมีคลังข้อมูลหลาย ๆ อันเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่น คลังข้อมูลด้านการเงิน และ คลังข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ เรามักเรียกคลังข้อมูลเฉพาะด้านเหล่านี้ว่า ตลาดข้อมูล (data marts)
อนึ่ง กระบวนการในการใช้ข้อมูลในคลังข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และวางแผนในทางธุรกิจ มักถูกเรียกว่า ปัญญาธุรกิจ (business intelligence).

ประเด็นที่ต้องพิจารณา
ในการรวมฐานข้อมูล อาจมีปัญหาว่าฐานข้อมูลแต่ละอัน อาจถูกออกแบบจากผู้ออกแบบหลายๆ คนทำให้มี schema แตกต่างกันไป (schema ในที่นี้หมายถึงการออกแบบ REA model ว่าจะมีกี่ตาราง แต่ละตารางเชื่อมกันอย่างไร มีอะไรเป็น primary key, foreign key เป็นต้น) ปัญหาใหญ่ก็คือจะนำฐานข้อมูลที่มีความแตกต่างกันมารวมกันได้อย่างไร
เมื่อรวมกันแล้วต้องการให้ schema ของคลังข้อมูลมีลักษณะแบบไหน. การออกแบบคลังข้อมูลโดยทั่วไป มักจะออกแบบตรงข้ามกับฐานข้อมูลอย่างสิ้นเชิง
การออกแบบฐานข้อมูลเรามักต้องการให้มี schema ที่ปรับปรุงได้ง่ายๆ (เพราะเราต้องประมวลผลบ่อย) คือในแต่ละตารางมี primary key น้อยๆ และมีตารางจำนวนมากเชื่อมต่อกัน นั่นคือใน REA model มักจะมีหลาย ๆ ตาราง
ในคลังข้อมูลเราต้องการให้เรียกข้อมูลที่ต้องการดู (query) ง่ายๆ และรวดเร็ว นอกจากนั้นเราไม่ค่อยได้แก้ไขปรับปรุงคลังข้อมูล จึงมักออกแบบให้มีตารางน้อยๆ schema ที่นิยมใช้ในคลังข้อมูลคือ star schema (ดู Fig. 15-7)

การวิเคราะห์ข้อมูลในคลังข้อมูล
มีสองประเภทใหญ่ ๆ คือ

Online Analytical Processing
Online Analytical Processing (OLAP) คือการใช้คำค้น (query) เพื่อค้นหาข้อมูลในคลังข้อมูลเหมือนในฐานข้อมูล เหตุผลที่เราไม่ค้นในฐานข้อมูล แต่มาทำในคลังข้อมูลแทนมีสองสาเหตุคือ
ความเร็ว
ความครอบคลุมของข้อมูลทั้งบริษัทที่มีอยู่ในคลังข้อมูล
ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลที่ OLAP สามารถเรียกใช้
รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพมีอยู่ 3 ชนิดที่ (OLAP) สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DataBase) โดยทั่วไปแล้วระบบงานประจำมีการจัดเก็บข้อมูลแบบ RDBMS และ data warehouse ก็มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ RDBMS ซึ่งอาจจะมีโครงสร้างข้อมูล แบบ star schema และอาจจะเป็นได้ทั้ง normalized & denormalized
2. ฐานข้อมูลหลายมิติ ( multidimentional database) ข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลหลายมิติอาจมาจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือระบบงานปัจจุบันโดยจะแปลง การจัดเก็บข้อมูลเสียใหม่ โดยมีโครงสร้างการจัดเก็บแบบ array โดยทั่วไปแล้วฐานข้อมูลหลายมิติจะยอมให้สิทธิการเขียนข้อมูลลงในฐานข้อมูล ในช่วงเวลาหนึ่งเพียงคนเดียว แต่อนุญาตให้หลาย ๆ คน เข้าค้นหาข้อมูลในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นก็อนุญาตให้ค้นหาข้อมูลเพียงอย่างเดียว
3. เก็บข้อมูลไว้ที่ client ลักษณะของfile (client-base files) ในกรณียอมให้client ดึงข้อมูลจำนวนไม่มากนักมาเก็บไว้ซึ่งเหมาะกับการประมวลผลแบบกระจาย หรือการสร้างคำสั่งให้ข้อมูลปรากฏบน web
OLAP ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่นๆ
OLAP นับเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสาขาธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากความซับซ้อนที่มากขึ้น และเวลาที่น้อยลงสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ OLAP จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะจุดเด่นที่สำคัญของ OLAP ประกอบด้วย การตอบสนองต่อการคิวรีของผู้ใช้ที่กินเวลาไม่มาก การทำงานที่ไม่ขึ้นกับขนาดและความซับซ้อนของฐานข้อมูล แอปพลิเคชัน OLAP ช่วยงานการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบ การนำเสนอในมุมมองเฉพาะ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังและคาดการณ์ข้อมูลในอนาคตตามโมเดลการตอบคำถามแบบ "What-If"

การทำเหมืองข้อมูล
การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือ การหารูปแบบ (pattern) อะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ที่มองผิวเผินแล้วไม่อาจสังเกตเห็นได้ เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมาก เช่น การค้นหากฎความสัมพันธ์ (association rules) ของสินค้าในห้างสรรพสินค้า เราอาจพบว่าลูกค้าร้อยละ 90 ที่ซื้อเบียร์ จะซื้อผ้าอ้อมเด็กด้วย, ซึ่งเป็นข้อมูลให้ทางห้างคิดรายการส่งเสริมการขายใหม่ๆ ได้; หรือ ธนาคารอาจพบว่า คนทั่วไปที่มีอายุ 20-29 ปี และมีรายได้ในช่วง 20,000-30,000 บาท มักซื้อเครื่องเล่นเอ็มพีสาม, ธนาคารอาจเสนอให้คนกลุ่มนี้ทำบัตรเครดิต โดยแถมเครื่องเล่นดังกล่าว เป็นต้น..........................

ลักษณะเด่นของคลังข้อมูล
ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง ถึงแม้ว่าจะมีการลงทุนที่ต่ำก็ตาม
เนื่องจากมีการให้ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง จึงสามารถทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบคู่แข่งขันในแง่ของการได้รับข้อมูลและสารสนเทศก่อนคู่แข่งขันเสมอ จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อทำการกำหนดเป็นกลยุทธ์ และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานได้ก่อนคู่แข่งขัน เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค ความต้องการทางตลาด และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค
เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจ เนื่องจากคลังข้อมูลได้รับการให้ข้อมูลที่รับมาจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน มีความสอดคล้องกัน และวิเคราะห์ตามประเด็นที่ผู้ตัดสินใจต้องการ อีกทั้งข้อมูลที่มีอยู่ในคลังข้อมูลก็มีปริมาณมากทั้งข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน จึงทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลต่างๆ และลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลอีกด้วย

DATA MINING

DATA MINING คืออะไร

Data Mining คือ ชุด software วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ มันเป็น software ที่สมบรูณ์ทั้งเรื่องการค้นหา การทำรายงาน และโปรแกรมในการจัดการ ซึ่งเราคุ้นเคยดีกับคำว่า Executive Information System ( EIS ) หรือระบบข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) คือทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เรามีอยู่กลายเป็นความรู้อันมีค่าได้สร้างคำตอบของอนาคตได้

การทำเหมืองข้อมูล
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

การทำเหมืองข้อมูล (อังกฤษ: data mining) หรืออาจจะเรียกว่า การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล (Knowledge Discovery in Databases - KDD) เป็นเทคนิคเพื่อค้นหารูปแบบ (pattern) ของจากข้อมูลจำนวนมหาศาลโดยอัตโนมัติ โดยใช้ขั้นตอนวิธีจากวิชาสถิติ การเรียนรู้ของเครื่อง และ การรู้จำแบบ หรือในอีกนิยามหนึ่ง การทำเหมืองข้อมูล คือ กระบวนการที่กระทำกับข้อมูล(โดยส่วนใหญ่จะมีจำนวนมาก) เพื่อค้นหารูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น โดยอาศัยหลักสถิติ การรู้จำ การเรียนรู้ของเครื่อง และหลักคณิตศาสตร์
ความรู้ที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูลมีหลายรูปแบบ ได้แก่
กฎความสัมพันธ์ (Association rule)
แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์หรือวัตถุ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้กฎเชื่อมโยง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการขายสินค้า โดยเก็บข้อมูลจากระบบ ณ จุดขาย (POS) หรือร้านค้าออนไลน์ แล้วพิจารณาสินค้าที่ผู้ซื้อมักจะซื้อพร้อมกัน เช่น ถ้าพบว่าคนที่ซื้อเทปวิดีโอมักจะซื้อเทปกาวด้วย ร้านค้าก็อาจจะจัดร้านให้สินค้าสองอย่างอยู่ใกล้กัน เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออาจจะพบว่าหลังจากคนซื้อหนังสือ ก แล้ว มักจะซื้อหนังสือ ข ด้วย ก็สามารถนำความรู้นี้ไปแนะนำผู้ที่กำลังจะซื้อหนังสือ ก ได้
การจำแนกประเภทข้อมูล (Data classification)
หากฏเพื่อระบุประเภทของวัตถุจากคุณสมบัติของวัตถุ เช่น หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจร่างกายต่าง ๆ กับการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ที่เก็บไว้ เพื่อนำมาช่วยวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย หรือการวิจัยทางการแพทย์ ในทางธุรกิจจะใช้เพื่อดูคุณสมบัติของผู้ที่จะก่อหนี้ดีหรือหนี้เสีย เพื่อประกอบการพิจารณาการอนุมัติเงินกู้
การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Data clustering)
แบ่งข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกันออกเป็นกลุ่ม แบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกันตามลักษณะอาการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของโรค โดยพิจารณาจากผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกัน
จินตทัศน์ (Visualization)
สร้างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกที่สามารถนำเสนอข้อมูลมากมายอย่างครบถ้วนแทนการใช้ขัอความนำเสนอข้อมูลที่มากมาย เราอาจพบข้อมูลที่ซ้อนเร้นเมื่อดูข้อมูลชุดนั้นด้วยจินตทัศน์
เนื้อหา
1 ขั้นตอนการทำเหมืองข้อมูล
2 ประโยชน์จากการทำเหมืองข้อมูล
2.1 การประยุต์ใช้ Data Mining
3 ดูเพิ่ม
4 แหล่งข้อมูลอื่น

ขั้นตอนการทำเหมืองข้อมูล
ทำความเข้าใจปัญหา
ทำความเข้าใจข้อมูล
เตรียมข้อมูล
สร้างแบบจำลอง
ประเมิน
นำไปใช้งาน

ประโยชน์จากการทำเหมืองข้อมูล
การทำเหมืองข้อมูล จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลายฝ่าย และต้องอาศัยความรู้จำนวนมาก ถึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่ได้จากขั้นตอนวิธีเป็นเพียงตัวเลข และข้อมูล ที่อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลยก็เป็นได้ ผู้ที่ศึกษาการทำเหมืองข้อมูลจึงควรมีความรู้รอบด้านและต้องติดต่อกับทุก ๆ ฝ่าย เพื่อให้เข้าใจถึงขอบเขตของปัญหาโดยแท้จริงก่อน เพื่อให้การทำเหมืองข้อมูลเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

การประยุต์ใช้ Data Mining
การขายปลีกและขายส่ง
การธนาคาร
การประดิษฐ์และการผลิต
การประกันภัย
การทำงานของตำรวจ
การดูแลสุขภาพ
การตลาด

ดูเพิ่ม
คลังข้อมูล (Data warehouse)
การทำเหมืองข้อความ (Text mining)
การทำเหมืองเว็บ (Web mining)
ฐานข้อมูล (Database)

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความรู้/ความถนัด/เทคนิคในการทำงาน

ความรู้และความถนัด
เนื่องจากการทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ ได้ส่งบุคลากรไปอบรมด้านความรู้ที่เกี่ยวกับสายการปฏิบัติงานและความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่น ๆ จึงมีการพัฒนาระบบการทำงาน เช่น การส่งบุคลากรไปอบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคลากรในองค์กรจึงมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์แทบทุกคน
เทคนิคในการทำงาน
- สำหรับงานในส่วนการคลัง ก็จะนำโปรแกรม Excel มาช่วยในการรวมผลลัพพ์ และการจัดทำงบต่าง ๆ
- การทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ จะประสานงานในทุกส่วน และจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือในการทำงาน
และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในสำนักงาน และงานที่ต้องบริการประชาชน
- ต้องมีความเสียสละเวลา และทุ่มเทในการทำงาน
- ต้องมีการพัฒนาความรู้และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน
- การทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ จะยึดมั่นในคำขวัญของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
"ยึดมั่นธรรมาภิบาล บริการเพื่อประชาชน

งานที่รับผิดชอบ

ลักษณะงานที่รับผิดชอบ ของส่วนการคลัง
1.ควบคุมดูแลการรับ - จ่ายเงินประจำวัน
2.ตรวจสอบการรับและจ่ายเงิน
3.ตรวจฎีกาเบิกเงินตามงบประมาณรายจ่าย
4.ตรวจสอบการบันทึกบัญชี
5.รายงานการรับ - จ่ายเงิน ของทุกเดือน
6.จัดทำงบทดลอง
7.ควบคุมการจัดหาพัสดุ
8.ควบคุมการใช้จ่ายพัสดุ
9.ควบคุมทะเบียนทรัพย์สิน
10.รายงานการใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน
11.รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน
12.ตรวจสอบหลักฐานการรับ-จ่ายเงิน

แนะนำตัว

ชื่อ นางนุสรา คำแพง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
ที่อยู่ 172 หมู่ 2 อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
ปัจจุบัน อายุ 43 ปี
สถานภาพ สมรส
บุตร 3 คน
อาหารที่ชอบ อาหารอีสาน
สีที่ชอบ สีน้ำตาล

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างการบริหารงาน อบต.พระเสาร์


คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์


1. นายแพงศรี แสนโคตร
นายก อบต. พระเสาร์

2. นายกองสี พงษ์เกษม
รองนายก อบต. พระเสาร์

3. นายทูล ทินภู่
รองนายก อบต.พระเสาร์

สำนักปลัด
1. นายอรุณรัชช์ พรมนอก ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์
2. นางสาวชลธิชา พราวศรี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
3. นางพัชรี บุญเต็ม นักวิชาการศึกษา
4. นายอรรถพล อุปมา เจ้าหน้าที่ธุรการ
5 นายประยนต์ เข็มทอง พนักงานประสานงานชนบท
ส่วนการคลัง
1. นางนุสรา คำแพง หัวหน้าส่วนการคลัง
2. นางจามลี กาศรี เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
3. นางนวพร รัตนแมด เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
4. นางสาววนิดา ดิษดำ เจ้าพนักงานพัสดุ
5. นางสาวนิตยา สุวรรณวงษ์ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
6. นางสุวารี ตะเคียน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
ส่วนโยธา
1. นายสมาน สีตะโกเพชร หัวหน้าส่วนโยธา
2. นายอำนาจ สมยืน ผู้ช่วยช่างโยธา

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์
1.นายเข็มทอง สุวรรณคำ ประธานสภา อบต.พระเสาร์
2.นายชัยรัตน์ ภูพันธ์รัตน์ เลขานุการสภา อบต.พระเสาร์
3.นายสมหมาย ไชยชาญ รองประธานสภา อบต.พระเสาร์
4. นายสำราญ วิชาพูล ส.อบต. หมู่ที่ 1
5.นายประสิทธิ์ บัวภา ส.อบต. หมู่ที่ 1
6.นายสุพล คุณาพันธ์ ส.อบต. หมู่ที่ 2
7.นายมี พงษ์เกษม ส.อบต. หมู่ที่ 2
8.นายอุทัย ธรรมรักษ์ ส.อบต. หมู่ที่ 3
9.นายวันรพ พรหมจารีย์ ส.อบต. หมู่ที่ 3
10.นายม่วน นามณีวงษ์ ส.อบต. หมู่ที่ 4
11.นายวาส บุญศรี ส.อบต. หมู่ที่ 5
12.นายชัด อุ้ยเจริญ ส.อบต. หมู่ที่ 5
13.นายธาราลักษณ์ โทหอม ส.อบต. หมู่ที่ 6
14.นายทองใบ สุโพธิ์ ส.อบต. หมู่ที่ 7
15.นายสุบัน บำรุงไทย ส.อบต. หมู่ที่ 8
16.นายถาวร สิงห์สาย ส.อบต. หมู่ที่ 8
17.นายวิชัย นิลสี ส.อบต. หมู่ที่ 9
18.ว่าที่ ร.ต.ประมวล วงศ์คำรัตน์ ส.อบต. หมู่ที่ 9
19.นายคนอง สุราโพธิ์ ส.อบต. หมู่ที่ 10
20.นายสำรวย ผังดี ส.อบต. หมู่ที่ 10